บทที่ 1 ธุรกิจขนาดย่อม

          ธุรกิจขนาดย่อม (Small and Medium Interprises : SMEs) หมายถึง ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เกิดจากการผลิตสินค้าหรือบริการที่มาจากทักษะที่หลากหลาย มีกระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้น ๆ โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดโลก ขั้นตอนการผลิตจะใช้วัตถุดิบในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลผลิตของสินค้าหรือบริการนั้นต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ใช้เงินทุนในการประกอบการไม่สูง อยู่ในระดับที่สถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถรองรับได้ ปัจจุบันทางภาครัฐได้ให้ความสนใจธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางนี้มาก โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางอย่างชัดเจน
ลักษณะที่ดีของธุรกิจขนาดย่อม
          1. สามารถทำรายได้จากดอลลาร์โซนได้ หมายถึง เป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศได้
          2. เป็นธุรกิจที่พึ่งตนเองได้ หมายถึง เป็นธุรกิจที่มีตลาดขายสินค้าเป็นของตนเอง มีความหลากหลายโดยไม่ต้องอาศัยการสั่งซื้อจากโรงงานขนาดใหญ่
          3. มีความว่องไวในการปรับตัว
          4. ใช้เงินทุนในการประกอบการไม่สูง
          5. เป็นธุรกิจที่ใช้ทักษะในการผลิต
          6. ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ หมายถึงวัตถุที่ใช้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบภายในประเทศ
          7. ผลผลิตมีคุณภาพ หมายถึง การผลิตสินค้าต้องเน้นที่คุณภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลระดับโลก
          8. เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน หมายถึง เป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่ในชุมชน มีการบริหารจัดการภายในครอบครัว
ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม
          1. ธุรกิจอุตสาหกรรม
          2. ธุรกิจพาณิชยกรรม
          3. ธุรกิจบริการ
           ธุรกิจอุตสาหกรรม หมายถึง ธุรกิจที่มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยมีการนำวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เพื่อแปรรูปเป็นสินค้าตาที่ต้องการ ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิต ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก จำนวนการผลิตมีปริมาณสูง ประเภทส่วนประกอบในการผลิตที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการสั่งซื้อจากธุรกิจขนาดย่อม ดังนั้นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการผลิตที่เป็นอิสระ มีโอกาสผลิตสินค้าให้กับผู้ผลิตรายอื่น ๆ มากที่สุด เช่น โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ต้องอาศัยน็อตจากโรงงานขนาดย่อม โรงงานผลิตตู้เย็นและตู้แช่ ต้องซื้อโครงตู้พลาสติก เป็นต้น

           
            ธุรกิจบริการ  หมายถึง ธุรกิจที่มีการเสนอการบริการที่มีความแตกต่างกันไปแต่ละประเภท เช่น ช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่มีทั้งภาครัฐและเอกชน และไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ลักษณะของธุรกิจประเภทนี้มักเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีการลงทุนน้อย มีผู้ดำเนินการธุรกิจเพียงคนเดียว เช่น ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ ร้านซ่อมนาฬิกา เป็นต้น
            ธุรกิจพาณิชยกรรม หมายถึง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าคนกลางที่อยู่ในช่วงของการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือผู้ค้าปลีกและส่ง  ที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสหกรณ์ ร้านขายของชำ เป็นต้น
ลักษณะโดยทั่วไปของธุรกิจขนาดย่อม
        1. เครื่องจักร เครื่องมือใช้เทคโนโลยีไม่สูง จะใช้เครื่องจักร เครื่องมือในระดับต้นถึงระดับกลาง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง
จักรที่อาจใช้เทคโนโลยีสูง ทำให้ไม่ต้องเสียเงินมากในการจัดซื้อเครื่องมือ
        2. ใช้เงินลงทุนน้อย   สามารถดำเนินการได้กว้าง เพราะประกอบด้วยธุรกิจทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม รวมถึงการบริการต่าง ๆ จะทำให้เกิดการลงทุนน้อยในบางธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจขนาดย่อมอาจเป็นการใช้แรงงานของสมาชิกภายในครัวเรือนหรือพี่น้องกัน ซึ่งจะเกิดผลเสียคือ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องทำงานหนักอาจจะทำหน้าที่ผู้บริการจนกระทั่งเป็นแรงงานเอง แต่ก็มีผลดีคือ ผู้เป็นเจ้าของหรือธุรกิจภายในครอบครัว สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและฉับไว
        3. ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมสามารถใช้ฝีมือที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพราะว่าผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนส่วนตัวมาก ทำให้ผู้ประกอบการมีขวัญและกำลังใจในการบริการดี
        4. มีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ไม่ยุ่งยากในการประสานงานและแบ่งหน้าที่
กันดำเนินงานภายในบริษัท ทำให้การดำเนินงานบางอย่างสามารถลัดขั้นตอนได้ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ส่งผลให้การบริหารงานภายในองค์การประสบสำเร็จมีกำไรมาก
        5. ตลาดอยู่ทั่วไปในภูมิภาค การประกอบธุรกิจขนาดย่อม สามารถดำเนินการได้ทั่วไปทุก ๆ พื้นที่ในภูมิภาค แล้วแต่ความเหมาะสมและความต้องการของประชากรในชุมชนนั้น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและไกลออกไป

บทบาทของธุรกิจขนาดย่อม
          1. การกระจายการพัฒนาไปสู่ส่วนภูมิภาค ทำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคดีขึ้น ประชาชนไม่ต้องเดินทางเข้ามาหางานในกรุงเทพฯ สามารถทำงานอยู่ในพื้นที่ที่มีธุรกิจขนาดย่อมเกิดขึ้น ทำให้ประหยัดรายจ่าย สุขภาพจิตดี ครอบครัวมีความอบอุ่น มลภาวะที่เป็นพิษต่าง ๆ ลดลง
          2. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพนั้น จะก่อให้เกิดกำไรมากขึ้น
          3. ช่วยให้ประชากรในประเทศมีงานทำ การดำเนินธุรกิจย่อมเกิดขึ้นมาก ทำให้ประชากรภายในประเทศมีงานทำ ทำให้ไม่เป็นภาระของรัฐบาล
          4. พัฒนาความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจ คือ เป็นการพัฒนาบุคลากรของประเทศชาติให้มีความเข้มแข็งขึ้น เป็นบุคคลที่มีคุณภาพสามารถดำเนินการประกอบธุรกิจและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นนักบริหารและนักจัดการที่มีฝีมือดีพอสมควร
          5. ก่อให้เกิดการระดมเงินทุน จะเห็นได้จากการให้การสนับสนุนในการระดมเงินทุนหรือการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากธุรกิจบางประเภทจะมีการถือหุ้นของพนักงานหรือประชาชนโดยทั่วไป ตลอดจนรัฐบาลได้ให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เช่น ภาษี และการจัดพื้นที่สำหรับจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
องค์ประกอบของธุรกิจขนาดย่อม
          1. คน ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งสถานประกอบการ เพราะในการดำเนินการทุกอย่าง คนต้องเป็นหลักในการที่จะทำให้เกิดธุรกิจและบริการ ต้องอาศัยคนในการควบคุม ต้องอาศัยสมองคนในการดำเนินการโฆษณาและขายสินค้าออก โดยการวางแผนให้ได้กำไรมากที่สุด
          2. เงิน ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในทั่วโลกว่ามีความสำคัญ นอกจากจะมีคนเป็นหลักแล้ว เงินเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้คนมีความกระตือรือร้น ขยันทำงาน เช่น การให้สวัสดิการต่าง ๆ การให้เงินแก่พนักงานในการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
          3. เครื่องมือเครื่องจักร ในบางครั้งการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและได้จำนวนมาก ๆ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องจักรในการผลิต การผลิตจากฝีมือคนจะได้มาตรฐานที่ไม่เท่ากัน แต่การผลิตโดยเครื่องจักรแล้วจะได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน
          4. วัตถุดิบ ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้า เพราะสินค้าจะมีคุณภาพดีจะต้องได้วัตถุดิบที่ดี
          5. การจัดการ คุณภาพสินค้าเท่า ๆ กันแต่ต้นทุนการผลิตอาจจะแตกต่างกัน เพราะการบริหารจัดการในการเพิ่มผลผลิต หรือใช้หลักการสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตแทนระบบการผลิตสิ้นค้าแบบเดิม ๆ
          6. การตลาดถือได้ว่าเป็นส่วนของผู้บริโภคสินค้าที่ผลิตออกมา เทคนิคในการทำการตลาดนั้นมีมากมายหลายวิธี แต่การ
ตลาดจะดำเนินการประสบผลสำเร็จเพียงใดนั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ สินค้าต้องมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของประชาชน
          7. ขวัญและกำลังใจ จะต้องหมั่นสังเกตดูพนักงานในโรงงานและบริษัทว่ามีความต้องการสิ่งใด ถ้าความต้องการเน้นเป็นสิ่งที่บริษัทจัดหาได้แล้วทำให้การเพิ่มผลผลิตภายในบริษัทมากขึ้น และเป็นที่ต้องการของพนักงานภายในบริษัทหรือธุรกิจขนาดย่อม ก็ควรที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน

ข้อดี-ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม

ข้อดีของธุรกิจขนาดย่อม
ข้อเสียของธุรกิจขนาดย่อม
1. สามารถดำเนินการจัดตั้งได้ง่าย
2. สามารถตัดสินใจและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว
ทันเหตุการณ์
3. การบริหารการจัดการมีความคล่องตัวสูง
4. ผู้บริหารใกล้ชิดและเป็นกันเองกับพนักงาน
5. ลงทุนกิจการใช้เงินน้อย
6. สามารถสร้างความประทับใจในการบริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่
7. รัฐบาลให้การสนับสนุนในการดำเนินการจัดตั้งธุรกิจขนาดใหญ่
1. มีการลาออกของพนักงานบ่อยทำให้ต้องสอนงานใหม่อยู่เรื่อย
2. การระดมเงินทุนทำได้ยาก ไม่เหมือนบริษัทขนาดใหญ่
3. มักเสียเปรียบบริษัทใหญ่ในการซื้อสินค้าหรือบริการ
4. ระบบการเงินการบัญชี ไม่เป็นระบบการจัดการ
ภายในบริษัทหรือโรงงาน     

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดย่อม
          การประกอบธุรกิจขนาดย่อมจะประกอบไปด้วยทรัพยากรการจัดการทั้ง 4 ประการแล้ว การดำเนินการธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ถ้ามีปัจจัยมาเสริมอีก 4 ประการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          1. การตลาด หมายถึง การผลิตสินค้าออกมาได้คุณภาพใกล้เคียงกับบริษัทคู่แข่ง สิ่งที่ต้องคำนึงต่อไปก็คือ การตลาด ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมต้องศึกษาความต้องการของผู้บริโภคว่ามีความต้องการอย่างไร
          2. ระบบการปฏิบัติงาน หมายถึง ระเบียบ กฏเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
          3. การบริหาร เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรประเภทต่าง ๆ ได้แก่ คน เครื่องจักร วัตถุดิบ ให้มีการประสานงานกันและความสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          4. การจูงใจ เป็นเทคนิคของผู้บริหารหรือฝ่ายการจัดการในระดับต่าง ๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้มากขึ้น การจูงใจมีอยู่หลายอย่าง เช่น เอาตำแหน่งหน้าที่เป็นการจูงใจหรือใช้เงินเป็นสิ่งจูงใจ การจูงใจจะได้ผลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของผู้บริหาร ถ้าการจูงใจได้ผลดีจะทำให้พนักงานเกิดความมุมานะและความจงรักภักดี
กระบวนการการจัดการธุรกิจขนาดย่อม
          กระบวนการการจัดการธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง การดำเนินการธุรกิจขนาดย่อมตามขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การวางแผนการทำธุรกิจ การจัดองค์การ การบริหารพนักงาน การอำนวยการและควบคุม โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ธุรกิจบรรลุความสำเร็จตาม
วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
          กระบวนการจัดการทางธุรกิจขนาดย่อม มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. การวางแผน  การประเมนสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีหลักเกณฑ์และดำเนินการตามแผนที่วางไว้
          2. การจัดองค์กร การประกอบธุรกิจขนาดย่อมนั้น หน่วยงานภายในองค์กรมีน้อย ในบางครั้งพนักงานในโรงงานหรือบริษัทขนาดย่อมจะทำงานหลาย ๆ หน้าที่พร้อม ๆ กัน
          3. การบริหารพนักงาน การบริหารงานบางครั้งก็ไม่ตรงตามหลักวิชาการมากนัก การเข้าออกของพนักงานภายในบริษัทหรือสถานประกอบการก็มีสูง ทำให้ต้องมีการรับพนักงานบ่อยครั้ง
          4. การอำนวยการ ส่วนมากแล้วเจ้าของผู้ประกอบการหรือผู้จัดการจะประสานกับพนักงานเอง สั่งการเอง ไม่ได้แยกออกเป็นแผนกหรือสายงาน ถ้าผู้บริหารขาดความเป็นผู้นำและไม่มีความรู้ทางการบริหารและการจัดการจะทำให้เกิดปัญหาในการบริหาร
          5. การควบคุมงาน จากการที่ธุรกิจขนาดย่อม เป็นธุรกิจขนาดเล็ก การควบคุมงานและการดำเนินการไปอย่างไม่รอบคอบ การควบคุมส่วนมากจะเป็นการควบคุมโดยใช้สายตาและเปรียบเทียบกับปริมาณงานที่ทำได้ในแต่ละวัน ไม่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการในการ
ปัญหาที่เกิดขึ้นของการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
          1. เกิดอุทกภัยและวาตภัย
          2. ไม่ศึกษาและและไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐ
          3. ขาดจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
          4. การบริหารงานนั้นขาดคุณภาพ
          5. การไม่รักษาสิ่งแวดล้อมภายในหรือรอบ ๆ บริเวณที่ประกอบธุรกิจขนาดย่อม
          6. ผู้ประกอบการเฉื่อยชาในการประกอบธุรกิจ ทำให้การบริหารงานล่าช้า
          7. ทำเลที่ตั้งขอธุรกิจไม่เหมาะสม